งานวิจัย : ผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตบางชนิด ต่อการเพิ่มความงอกของเมล็ดพันธุ์สบู่ดำ ที่เก็บรักษาไว้นาน 9 เดือน

บทคัดย่อ
นำเมล็ดพันธุ์สบู่ดำ(Jatropha curcas)ที่เก็บรักษาในสภาพอุณหภูมิห้องเป็นเวลานาน 9 เดือน
มาทดสอบความงอก โดยมีการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตชนิดต่าง ๆ ผลการทดลองพบว่า เมล็ดพันธุ์ที่เก็บไว้นั้นมีความงอกต่ำมาก เพียงประมาณร้อยละ10 แต่เมื่อมีการใช้สารดังกล่าวร่วมด้วยพบว่าสารบางชนิดสามารถกระตุ้นให้ความงอกของเมล็ดเพิ่มขึ้นได้ โดยพบว่าสารวินนีก้า สุพรีมให้ความงอกร้อยละ 20 , สารวิตามินบี1ให้ความงอกร้อยละ50 , สารจิบเบอเรลลินให้ความงอกร้อยละ 20 และสารเอ็นเอเอ(NAA)ให้ความงอกร้อยละ50 ส่วนการใช้สารแคลบรอน พลัส , ฟลอริเจน และไคโทซาน ไม่มีผลทำให้ค่าความงอกของเมล็ดเพิ่มขึ้นได้แต่อย่างใด

… ชยพร  แอคะรัจน์

โพสท์ใน Diary | ใส่ความเห็น

คีเลต

ปุ๋ยทางใบใช้ได้ทั้งทางใบ และดิน (แต่ถ้านำมาใช้ทางดินจะถือว่าสิ้นเปลือง)
เนื่องจากในกระบวนการผลิตธาตุอาหารสำหรับให้ต้นพืชนั้น มีการผลิตออกมาในสองลักษณะคือ ให้ทางราก กับให้ทางใบ ดังนั้นคุณสมบัติการจับของโมเลกุลของธาตุอาหาร จะมีความแตกต่างกัน ธาตุอาหารบางชนิดที่มีประจุบวกได้แก่เหล็ก สังกะสี ทองแดง แมงกานีส ฯลฯ

ธาตุอาหารเหล่านี้เมื่อนำมาใช้ทางดินก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด เนื่องจากลักษณะการดูดซึมของต้นไม้นั้น ่จะใช้วิธีดูดธาตุอาหารในรูปของ สารละลายจากน้ำ โดยใช้กระบวนการปรับระดับความดันภายในต้นไม้ เพื่อให้สารอาหารสามารถเคลื่อนที่ไปยังส่วนต่างๆ ของต้นไม้ได้ ด้วยการใช้วิธีัการลดความดันยอดด้วยการคายน้ำออกทางใบทำให้แรงดันส่วนปลายลดลง สารที่ละลายธาตุอาหารในดินจึงสามารถถูกดูดซึมผ่านขึ้นไปทดแทนแรงดันที่ลดลงนั้นตามระบบรากได้

แต่เมื่อนำเรานำธาตุอาหาร (ปุ๋ยทางดิน) เหล่านั้น มาละลายน้ำ และฉีดพ่นทางใบ ปรากฎว่าโมเลกุลของธาตุอาหารบางประเภทมีประจุไฟฟ้าบวกอยู่ เมื่อไปกระทบกับประจุลบบริเวณใบ จึงเกิดการจับตัวกัน แ่ละพืชไม่ปล่อยให้ธาตุอาหารดังกล่าวซึมผ่านเ่ข้าทางปากใบได้ จึงเิกิดการตกตะกอนค้างอยู่บนใบ รอวันฝนชะล้างลงดินละลายไปกับน้ำฝน แล้วซึมผ่านตามระบบรากปกติ ดังนั้นในบางครั้งที่เราไม่รู้ เราก็ยังคงคิดว่ามันสามารถใช้ได้กับทางใบได้ ซึ่งในความเป็นจริงๆ มันใช้ซึมผ่านเข้าต้นไม้ในทางใบ….ไม่ได้

ดังนั้นเราจึงใช้สารคีเลต (Chelate) ซึ่งมีทั้งในธรรมชาติ และการสังเคราะห์ มาเป็นตัวจับธาตุอาหารที่มีประจุบวกเหล่านี้ ทำให้เกิดกระบวนการที่เรียกว่า คึเลตชั่น (chelation) ซึ่งจะเข้าไปล้อมธาตุอาหารเหล่านั้น ไม่ให้ประจุลบภายนอกเ้ข้ามาทำปฏิกริยาได้ (ประจุต่างกันพบกันจะดูดกันไว้ ทำให้เกิดการตกตะกอน) จึงทำให้ธาตุอาหารดังกล่าวกลายเป็นสารประกอบที่ไม่มีประจุไฟฟ้า ทำให้ไม่เกิดการตกตะกอน และพืชสามารถปล่อยให้ผ่านเข้าทางปากใบ และเนื่องจากสารประกอบคีเลต สามารถละลายน้ำได้ดี พืชจึงสามารถดูดซึมผ่านราก หรือปากใบ และสามารถนำสารธาตุอาหารรองเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ได้รวดเร็ว และใช้ได้ในทันที

สารคีเลตที่ใช้ทำปุ๋ยจุลธาตุหรือธาตุอาหารเสริมมีอยู่ 2 ประเภท คือ

1. สารอินทรีย์จากธรรมชาติ เช่น กรดฮิวมิก กรดฟีโนลิก กรดซิตริก และ กรดอะมิโน

2. สารคีเลตสังเคราะห์ เช่น EDTA ย่อมาจากเอทิลีนไดอามีน เตตราอะเซติก แอซิด

สารประกอบเหล่านี้ เรามักจะเรียกว่า “จุลธาตุ” เป็นกลุ่มธาตุอาหารที่เราให้ทางใบ

ดังนั้น ในผลิตภัณฑ์ธาตุอาหารทางเคมี ที่มีคำเขียนกำกับไว้ว่า “อยู่ในรูปสารประกอบคีเลต” จึงเป็นธาตุอาหารที่พัฒนามาเพื่อใช้เฉพาะทางใบโดยเฉพาะ แต่ถ้าจะเอาไปใช้กับทางดินก็สามารถใช้ได้ แต่เปลือง

ส่วนธาตุอาหารที่สร้างมาสำหรับใช้ทางดิน ไม่ได้ผ่านกระบวนการคีเลตชั่น จึงไม่ได้เป็นสารประกอบในรูปของคีเลต ที่จะสามารถนำมาใช้ทางใบได้ ถ้าเอาไปใช้จะเกิดการตกตะกอน แ่ละตกค้างอยู่ตามใบ รอเวลาฝนมาชะลงดิน

(ที่มา gotoknow . org/posts/534466)

โพสท์ใน Diary | ใส่ความเห็น

องค์ประกอบที่จะทำให้งานวิจัยสำเร็จได้

  1. ขีดความสามารถ
  2. เวลา
  3. แรงจูงใจ
โพสท์ใน Diary | ใส่ความเห็น

รวมบทความ รศ.ดร.ชยพร แอคะรัจน์

รวมบทความ รศ.ดร.ชยพร แอคะรัจน์ gotoknow.org/posts/425188

โพสท์ใน Diary | ใส่ความเห็น

สรรพคุณ ดาวเรือง

ใบ รสชุ่มเย็น มีกลิ่นฉุน ใช้แก้ฝีฝักบัว ฝีพุพอง เด็กเป็นตานขโมย ตุ่มมีหนอง บวมอักเสบโดยไม่รู้สาเหตุ ช่อดอก รสขม ฉุนเล็กน้อย ใช้กล่อมตับ ขับร้อน ละลายเสมหะ แก้เวียนศีรษะ ตาเจ็บ ไอหวัด ไอกรน หลอดลมอักเสบ เต้านมอักเสบ คางทูม เรียกเนื้อ ทำให้แผลหายเร็วขึ้น และแก้ปวดฟัน ตำรับยา แก้ไอกรน ใช้ช่อดอกสด 15 ช่อ ต้มเอาน้ำมาผสมน้ำตาลแดงกิน แก้หลอดลมอักเสบ ใช้ช่อดอกสด 30 กรัม กับจุยเฉี่ยวเอื้อง (Inula Helianthus-aquatilis C.Y. Wuex Ling) สด 10 กรัม และจี๋อ้วง (Astertataricus L.F.) สด 7 กรัม ต้มน้ำกินแก้เต้านมอักเสบ ใช้ช่อดอกแห้งเต่งเล้า (paris petiolata Bak. ex. Forb.) แห้งและดอกสายน้ำผึ้ง (Lonicera japonica Thunb) แห้งอย่างละเท่า ๆ กัน บดเป็นผงผสมน้ำส้มสายชูทาบริเวณที่เป็น แก้ปวดฟัน ตาเจ็บ ใช้ช่อดอกแห้ง 10 กรัม ต้มน้ำกิน นอกจากนี้ ใช้น้ำคั้นจากใบ ผสมน้ำมันมะพร้าวเคี่ยวจนส่วนน้ำระเหยหมดใช้ทาแผลเปื่อยเน่า ฝีต่าง ๆ (เดลินิวส์)

โพสท์ใน Diary | ใส่ความเห็น

มะม่วงตลับนาก สุกอร่อยปีละสองหน

มะม่วงชนิดนี้ เป็นพันธุ์โบราณที่นิยมปลูกกันมาช้านานในแถบภาคกลาง โดยส่วนใหญ่จะปลูกตามบ้านเพื่อเก็บผลรับประทานในครัวเรือน มีปลูกเพื่อเก็บผลขายบ้างเล็กน้อย ไม่ได้ขายเป็นล่ำเป็นสัน หรือขายในเชิงพาณิชย์ เนื่องจาก ในยุคสมัยก่อนชาวบ้านมีพื้นที่กว้างขวางเหลือเฟือ จึงนิยมปลูกเก็บผลรับประทานกันเองมากกว่าซื้อเขากิน ปัจจุบันพบว่า มีผู้ขยายพันธุ์ตอนกิ่งของ “มะม่วงตลับนาก” วางขาย พร้อมมีภาพถ่ายผลจากต้นจริงแขวนโชว์ให้ชมด้วย จึงแนะนำให้ ทราบอีกตามระเบียบ

มะม่วงตลับนาก มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร แตกกิ่งก้านเป็น พุ่มทรงกลม ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับถี่บริเวณปลายยอดใบเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายแหลม โคนมน ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย เนื้อใบหนา ผิวเรียบเป็นมัน สีเขียวสด

ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก ดอกเป็นสีเหลืองนวล ดอกมีกลิ่นหอมเหมือนกับดอกมะม่วงทั่วไป “ผล” รูปกลมรี โหนกและหลังผลนูน ปลายผลงอนเป็นติ่งแหลม น่าชมมาก ผลแบนเล็กน้อย น้ำหนักผลเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 400 กรัมต่อผล เวลาติดผลจะเป็นพวง 10-15 ผล ผลดกเต็มต้น ผลดิบสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีเหลืองดูคล้ายตลับนากยุคโบราณ จึงถูกตั้งชื่อตามลักษณะผลว่า “มะม่วงตลับนาก” ดังกล่าว

รสชาติ ผลดิบเปรี้ยวจัด เนื้อสุก หวานหอมรับประทานอร่อยมาก ความหวานวัดได้ประมาณ 14 องศาบริกซ์ เมล็ดไม่ลีบหรือแบนนักมี เส้นใยเล็กน้อย ติดผลดกปีละสองครั้ง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอด (ไทยรัฐ)

โพสท์ใน Diary | ใส่ความเห็น

ความหมายของ GMP

Good Manufacturing Practice หรือ GMP เป็นหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร ซึ่งเป็นเกณฑ์หรือข้อกำหนดขั้นพื้นฐานที่จำเป็นในการผลิตและการควบคุม เพื่อให้ผู้ผลิตปฏิบัติตามและทำให้สามารถผลิตอาหารได้อย่างปลอดภัยโดยหลักการของ GMP ครอบคลุมตั้งแต่สถานที่ตั้งของสถานประกอบการ โครงสร้างอาคาร ระบบการผลิตที่ดีมีความปลอดภัย และมีคุณภาพได้มาตรฐานทุกขั้นตอน นับตั้งแต่เริ่มต้นวางแผนผลิตระบบควบคุมตั้งแต่วัตถุดิบระหว่างการผลิต ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป การจัดเก็บ การควบคุมคุณภาพและการขนส่ง จนถึงผู้บริโภค มีระบบบันทึกข้อมูลการตรวจสอบและติดตามผลคุณภาพผลิตภัณฑ์ รวมถึงระบบการจัดการที่ดี ในเรื่องสุขอนามัย ทั้งนี้เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายมีคุณภาพและความปลอดภัย

Primary \GMP ประกอบด้วย 6 หัวข้อดังนี้

1. สถานที่ตั้งและอาคารผลิต ต้องสะอาด ไม่สะสมสิ่งปฏิกูล ไม่มีน้ำขังแฉะสกปรก สามารถป้องกันสัตว์และแมลงเข้าสู่บริเวณหรือสัมผัสอาหาร

2. เครื่องมือ และอุปกรณ์ในการผลิต ต้องง่ายแก่การทำความสะอาด ไม่เป็นสนิม

3. การควบคุมกระบวนการผลิต วัตถุดิบส่วนผสมต่างๆและภาชนะบรรจุ มีการคัดเลือก ควบคุมและการเก็บรักษาอย่างเหมาะสม

4. การสุขาภิบาล เช่น น้ำที่ใช้ในสถานที่ผลิตเป็นน้ำสะอาด มีวิธีการกำจัดขยะที่เหมาะสมการบำรุงรักษา และการทำความสะอาด เป็นต้น

5. การบำรุงรักษา และการทำความสะอาด มีวิธีการดูแลทำความสะอาดและบำรุงรักษาอาคารสถานที่ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์การผลิตอย่างเหมาะสม

6. บุคลากรและสุขลักษณะผู้ปฏิบัติงาน บุคลากรหรือผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเป็นปัจจัยที่สำคัญอันจะให้การผลิตเป็นไปอย่างถูกต้อง ตามขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงาน รวมทั้งสามารถป้องกันการปนเปื้อนจากการปฏิบัติงานและตัวบุคลากรเอง ดังนั้น บุคลากรต้องประพฤติปฏิบัติตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด รักษาความสะอาดส่วนบุคคลและปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสุขอนามัย เพื่อป้องกันการปนเปื้อนข้ามจากผู้ปฏิบัติงานสู่ผลิตภัณฑ์ทั้งตรงและทางอ้อม (นายอานนท์ ภาคมาลี – http:// www. gotoknow. org/posts/559917)

โพสท์ใน Diary | ใส่ความเห็น

ขยายผลเกษตรอินทรีย์

รายงานจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการประชุมคณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติว่าที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ. 2557– 2559 เรียบร้อยแล้ว และเตรียมเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างยุทธศาสตร์ดังกล่าวตามลำดับต่อไป

ทั้งนี้ ร่างยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ. 2557– 2559 ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ คือ 1) การบริหารจัดการองค์ความรู้และนวัตกรรม 2) การพัฒนาการผลิตเกษตรอินทรีย์ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน 3) การสร้างความเข้มแข็งด้านการตลาดและมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ไทย และ 4) การบูรณาการเพื่อขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ไทย เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์เกษตรอินทรีย์โลกที่มีแนวโน้มการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในทวีปเอเชีย ซึ่งพบว่าประเทศที่มีพื้นที่การผลิตมากที่สุด คือ จีน อินเดีย คาซัคสถาน และฟิลิปปินส์ ตามลำดับ สำหรับประเทศไทยมีพื้นที่การผลิตการเกษตรอินทรีย์เป็นอันดับที่ 55 ของโลก และอันดับ 7 ของทวีปเอเชีย จำนวน 0.21 ล้านไร่ ซึ่งมีปริมาณการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ 48,578.50ตัน มีอัตราเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 24.23 และมีมูลค่า 1,842.50 ล้านบาท

สำหรับเป้าหมายสำคัญในการจัดทำยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์ฉบับนี้ประกอบด้วย 1) เพื่อให้พื้นที่การผลิตในรูปแบบเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้น 2) เพื่อให้การผลิตและการบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศเพิ่มขึ้น 3) เพื่อสร้างมูลค่าของสินค้า บริการด้านเกษตรอินทรีย์ และผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น 4) เพื่อให้สินค้าเกษตรอินทรีย์และมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ไทยเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ และ 5) เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางของสินค้าและบริการด้านเกษตรอินทรีย์ในระดับสากล

โดยการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยแนวคิดการพัฒนาแบบองค์รวมที่มีคนเป็นศูนย์กลางเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาอย่างยั่งยืน เน้นการผลิตตามวิถีพื้นบ้าน สามารถพึ่งพาตนเองและพึ่งพาซึ่งกันและกัน และดำเนินงานในเชิงบูรณาการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนอย่างเป็นระบบ ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน เครือข่ายเกษตรกรและศูนย์ปราชญ์ชาวบ้าน. (เดลินิวส์)

โพสท์ใน Diary | ใส่ความเห็น

การปลูกชมพู่ยักษ์ไต้หวันในประเทศไทย

ในแปลงปลูกชมพู่ของเกษตรกรไต้หวันรายหนึ่งมีการจัดการสวนที่ดีมาก หลายคนอาจจะไม่เชื่อว่าต้นชมพู่ของสวนแห่งนี้มีอายุต้นได้ 28 ปี เส้นผ่าศูนย์กลางของต้นเฉลี่ย 10-12 นิ้ว มีการควบคุมทรงพุ่มให้ความสูงของต้นเฉลี่ย 3-4 เมตรเท่านั้น ทางด้านสายพันธุ์ที่ปลูกเจ้าของสวนบอกว่านำพันธุ์มาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ไม่ได้ระบุประเทศแต่คาดว่าน่าจะนำพันธุ์มาจากประเทศมาเลเซียหรืออินโดนีเซีย เนื่องจากพันธุ์ชมพู่ที่ผลิตขายส่งในไต้หวันในปัจจุบันนี้จะมีขนาดผลใหญ่, ลักษณะผลเป็นทรงระฆังและผลมีสีชมพูอมแดง เท่าที่ได้ชิมนับได้ว่าอร่อยมาก นอกจากพันธุ์ชมพู่ที่ได้กล่าวมาแล้ว ที่สวนชมพู่แห่งนี้ยังมีชมพู่อีกสายพันธุ์

หนึ่งที่เจ้าของสวนอ้างว่าได้สายพันธุ์มาจากประเทศโปรตุเกส และเป็นพันธุ์ที่เจ้าของหวงมากและยังไม่มีผลผลิต เนื่องจากเป็นพันธุ์ชมพู่ที่มีลักษณะเด่นหลายประการ นอกจากผลจะมีขนาดใหญ่แล้ว ผลจะมีสีแดงสดคล้ายกับชมพู่ทับทิมจันท์ แตกต่างกับพันธุ์ทับทิมจันท์ตรงที่ทรงผลของชมพู่พันธุ์โปรตุเกส ลักษณะผลทรงระฆังและขนาดผลใหญ่มีน้ำหนักผลเฉลี่ย 200 กรัมต่อผล รสชาติหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย อร่อยมาก เจ้าของสวนจะเรียกชมพู่พันธุ์นี้ว่า “ชมพู่สตรอเบอรี่” แต่จะเปรียบเทียบกับบ้านเราคล้ายกับมีรสชาติของชมพู่มะเหมี่ยวปนเล็กน้อย เจ้าของสวนคาดว่าชมพู่พันธุ์โปรตุเกสนี้จะได้รับความสนใจในตลาดไต้หวันมากในอนาคต เนื่องจากเป็นชมพู่ที่มีเนื้อละเอียด นุ่มไม่แข็งกรอบจนเกินไป เวลากัดจะไม่รู้สึกปวดฟันสำหรับผู้สูงอายุที่อยากทานชมพู่และประโยชน์จากรสชาติอมเปรี้ยวนิด ๆ ที่อุดมไปด้วยวิตามินซี

เมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมาทางชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร โทร. 08-1886-7398 ได้พันธุ์ชมพู่ยักษ์มาจากไต้หวันนำมาเสียบยอดบนต้นชมพู่ทับทิมจันท์ ปัจจุบันต้น “ชมพู่ยักษ์ไต้หวัน” นั้นได้ให้ผลผลิตแล้วมีลักษณะที่โดดเด่นมาก ดังนี้ “ผลมีขนาดใหญ่มากและมีน้ำหนักผลประมาณ 350 กรัม หรือ 3 ผลต่อกิโลกรัม ผิวผลมีสีขาวอมชมพูหรือสีชมพูอมแดง ลักษณะของทรงผลเป็นรูประฆังคว่ำใหญ่ มีความกว้างของผลเฉลี่ย 7 เซนติเมตรและความยาวของผลเฉลี่ย 9-10 เซนติเมตร เนื้อหนามากและเป็นชมพู่ไร้เมล็ด รสชาติหวานกรอบ มีความหวานประมาณ 13-14 บริกซ์ ถ้าผลผลิตแก่และเก็บเกี่ยวในช่วงฤดูแล้งจะมีความหวานสูงกว่านี้” และผิวผลจะมีสีชมพูเข้มสวยงาม ส่วนเรื่องของการเจริญเติบโตของชมพู่ยักษ์ไต้หวันเมื่อนำมาปลูกในบ้านเราพบว่ามีการเจริญเติบโตดีมาก มีการออกดอกและติดผลในช่วงเวลา 1 ปีแรกหลังการปลูกเท่านั้น การออกดอกและติดผลดกมาก แม้จะทดลองปล่อยให้ชมพู่ยักษ์ไต้หวันติดผลเป็นพวงโดยไม่มีการตัดแต่งผลออกก็ตาม ที่สำคัญควรจะต้องมีการให้ปุ๋ยและน้ำอย่างสม่ำเสมอในช่วงของการเลี้ยงผลเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ. (เดลินิวส์)

โพสท์ใน Diary | ใส่ความเห็น

เดินหน้าพัฒนาขบวนการข้าวไทย

รายงานจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์ข้าวไทยว่า สินค้าข้าวจะยังเป็นสินค้าเกษตรที่สำคัญเนื่องจากเป็นอาหารหลักของโลก โดยปัจจุบันมีผู้บริโภคข้าวรวมกว่า 3,000 ล้านคนทั่วโลก และในภูมิภาคเอเชียถือเป็นพื้นที่ผลิตอาหารที่สำคัญของโลก โดยเฉพาะประเทศในลุ่มน้ำสำคัญๆ เช่น อินเดีย พม่า กัมพูชา และลาว ซึ่งมีอัตราการขยายตัวและพัฒนาการผลิตข้าวอย่างรวดเร็วกระทรวงเกษตรฯ จึงต้องพัฒนาชาวนาให้มีความรู้ทางด้านวิชาการในการปลูกข้าวเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ และมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นสามารถผลิตจนถึงจำหน่ายได้ด้วยตนเอง โดยมีแนวคิดที่จะขึ้นทะเบียนเกษตรกรที่รับจ้างปลูกข้าวในแต่ละพื้นที่เพื่ออบรมเพิ่มความรู้ให้สามารถผลิตข้าวที่มีคุณภาพมากขึ้น

เนื่องจากประเทศไทยถือว่ามีความได้เปรียบประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคในด้านงานวิจัยที่มีความก้าวหน้า ทั้งในภาคการผลิตและการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าว ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าข้าวให้สูงขึ้น รวมถึงการจัดพื้นที่เศรษฐกิจเกษตรของประเทศซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางการส่งเสริมให้เกิดการเพิ่มศักยภาพของเกษตรกร และจะต้องมีการส่งต่อความรู้ระหว่างเกษตรกรต่อเกษตรกรเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่าวต่อเนื่อง โดยประเทศไทยจะต้องพัฒนาให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวสามารถผลิต และทำการตลาดด้วยตนเองให้ได้ก่อนการเปิดประชาคมอาเซียนในปี 2558

ขณะเดียวกัน ยังเห็นว่าประเทศผู้ผลิตข้าวในภูมิภาคอาเซียนควรจะมีการสร้างความร่วมมือและรวมกลุ่มกันในกลุ่มประเทศผู้ผลิตข้าวเช่นเดียวกับกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้การผลิตข้าวในแต่ละประเทศ และสร้างอำนาจการต่อรองกับตลาดต่างประเทศด้วย

สำหรับสถานการณ์การผลิตและส่งออกข้าวไทยในปีการผลิต 2556/57 กระทรวงเกษตรฯ ประมาณการผลผลิตข้าวคาดว่าจะมี 38 ล้านตันข้าวเปลือก จากพื้นที่ปลูกข้าวประมาณ 74 ล้านไร่ และคาดว่าตัวเลขการส่งออกจะอยู่ที่ 7 ล้านตัน ซึ่งถือว่ายังอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับในปี 2555 ที่มีการส่งออก 6.7 ล้านตัน มูลค่า 1.4 แสนล้านบาท และ ในปี 2554 มีการส่งออก 10 ล้านตัน มูลค่า 1.96 แสนล้านบาท. (เดลินิวส์)

โพสท์ใน Diary | ใส่ความเห็น